โรงพยาบาลสามร้อยยอด เดิมใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลกุยบุรี" แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลสามร้อยยอด" ตามสถานที่ตั้งของกิ่งอำเภอสามร้อยยอดเมื่อเดือน ตุลาคม 2539
โรงพยาบาลสามร้อยยอด ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 6 ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 18 ไร่ 2 งาน
พ.ศ. 2508 เริ่มจากสถานีอนามัย ชั้น 2
พ.ศ. 2518 ยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์ และอนามัย
พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 10 เตียง
พ.ศ. 2527 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง
พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลกุยบุรี มาเป็น โรงพยาบาลสามร้อยยอด
พ.ศ. 2566 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล ขนาด 90 เตียง
รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามร้อยยอด
ชื่อ-สกุล | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
นายแพทย์วิทยา คุณานุกูล | พ.ศ.2518-2529 |
นายแพทย์พิภพ เจนสุทธิเวชกุล | พ.ศ.2529-2532 |
นายแพทย์สมเกียรติ ตั้งใจรักษาการดี | พ.ศ.2532-2536(รก.) |
นายแพทย์สมชาญ พงษ์ริยวัฒนา | พ.ศ.2536-2539(รก.) |
แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ | พ.ศ.2539-2543(รก.) |
นายแพทย์ปิยะ ลินลาวรรณ | พ.ศ.2543-2546(รก.) |
แพทย์หญิงศรีสมัย เชื้อชาติ | พ.ศ.2546-2551 |
นายแพทย์สมเกียรติ ตั้งใจรักษาการดี | พ.ศ.2551-30 ก.ย.2562 |
แพทย์หญิงวศินี วีระไวทยะ | 1 ต.ค.2562-ปัจจุบัน |
วิสัยทัศน์ (VISION) ปี 2566 – 2570
เป็นผู้นำให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ผู้รับบริการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
พันธกิจ (MISSION)
1.พัฒนาระบบบริการจัดการด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
2.พัฒนาคุณภาพมาตรฐานด้านการรักษาพยาบาลการเฝ้าระวังป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสภาพ
3.ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
4.สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องของประชาชน
5.พัฒนาระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
6.ส่งเสริมและจัดระบบการคุ้มครองผู้บริโภค
7.เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย
8.เสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะความเป็นมืออาชีพในงานที่รับผิดชอบ
9.พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
10.ส่งเสริมการสร้างและใช้นวัตกรรมสุขภาพ ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์
1.ส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค ภัยสุขภาพ และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อย่างมีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาและส่งเสริมการจัดระบบบริการสุขภาพทุกระดับให้มีคุณภาพ
3.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพ ให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบบริการ ระบบบริหารจัดการ และวิชาการ
4.พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการที่เป็นเลิศ
5.พัฒนาการบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วยหลักธรรมาภิบาล
6.ส่งเสริม และพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ