เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก คือเชื้อ เดงกี่ (dengue) และเชื้อชิกุนกุนย่า (chigunkunya) มากกว่า 90 % เกิดจากเชื้อตัวแรก โดยทั่วไปการรับเชื้อครั้งแรก มักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก ซึ่งสามารถเกิดในเด็กๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อครั้งต่อไปจะรุนแรงขึ้น และภูมิคุ้มกันที่มีจะไม่ช่วยไห้เราเป็น แต่กลับทำให้การติดเชื้อครั้งหลังรุนแรงขึ้น หมายความว่าเป็นแล้วเป็นได้อีก

พาหะ

                                                  

ยุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรค ยุงนี้จะกัดคนที่เป็นโรคและไปกัดคนอื่นๆ ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร ยุงนี้ชอบแพร่พันธ์ในน้ำนิ่ง หลุม โอ่ง น้ำขัง และจะออกหากินใเวลากลางวัน

 

 

 

อาการ

         อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือดออกคือ

  • ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2 - 7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟันและถ่ายอุจจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดลงแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้

อาการอันตราย

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

                                   1. ผุ้ป่วยซึมหรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง

                                   2. คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา

                                   3. ปวดท้องมาก

                                   4. มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ

                                   5. กระสับกระส่าย หงุดหงิด

                                   6. พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ

                                   7. กระหายน้ำตลอดเวลา

                                   8. ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก

                                   9. ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลงหรือตัวลายๆ

                                  10. ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน

การตรวจวินิจฉัย

           การตรวจนับเม็ดเลือด

           การตรวจทูร์นิเคต์ ( Tourniquet ) โดยใช้เครื่องวัดความดันรัดแขนประมาณ 5 นาที

การรักษา

           ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับดรคไข้เลือดออก การรักษาเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวัง ภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก้จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1

การดุแลผุ้ป่วยไข้เลือดออกควรปฏิบัติดังนี้

            1. ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆ มีอากาสถ่ายเทได้สะดวก

            2. เช็ดตัวด้วยน้ำรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ

            3. ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอลเวลาไข้สูง ตัวร้อนจัด หรือปวดศีรษะ ดดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ห้ามให้รับประทานยาลดไข้อื่น ดดยเพาะยาแอสไพริน ยาวองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้

           4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น

           5. ให้ผู้ป่วยดื่นน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย

หมายเหตุ ในระยะไข้สูง การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลดลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฏทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้ การเช้ดตัวลดไข้ จะช่วยให้ผุ้ป่วยสุขสบายขึ้น

การป้องกัน

           1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด

           2. กำจัดยุง

ผู้เยี่ยมชม

1588538
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
604
1290
604
1570586
9640
31229
1588538

ไอพี: 18.97.9.171
เวลา: 2024-12-08 13:28:23