KM  go to know  

เบาหวานกับการทำให้เกิด Self Management 

บทเรียนและประสบการณ์นี้นำสู่ขบวนการ P-D-C-A และนำมาพัฒนาระบบบริการในคลินิก โดยการร่วมมือกับทีมในการพัฒนาการจัดการให้ผู้ป่วยเบาหวานให้มีจัดการดูแลตนเองเป็นเรื่องท้าทายเพราะเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง  อยู่กันยาวนานตลอดทั้งชีวิต เพราะโรคเป็นของเราเองไม่มีใครหยิบยื่นหรือสั่งให้เราทำอะไรได้

การจัดการตนเองเป็นเรื่องที่ยาวนานตลอดชีวิตของคนเป็นเบาหวาน  เรามีบทบาทและหน้าที่ในการเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็น “ผู้จัดการตนเอง” ที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่ต้องมีมาก่อนที่จะจัดการตนเองได้คือ ผู้ป่วยต้องมีความรู้และทักษะที่เพียงพอ 

  • ผู้ป่วยเบาหวานต้องมีความรู้ว่าต้องทำอะไร  อย่างไร เมื่อใด มีทักษะในการกระทำ ตลอดจนเข้าใจตนเองและเข้าใจภาวะความเจ็บป่วยของตนเป็นอย่างดี  

เรื่องเล่าในองค์กรแพทย์  “เมื่อคุณป้าเฉลียวกลายเป็นเรื่องเล่าในระหว่างมื้ออาหารในห้องพักแพทย์ ” 

  • ป้าเฉลียวเล่าให้ฟ้งในเรื่อง life style ว่าปกติชอบทานก๋วยเตี๋ยว ดื่มน้ำจับเลี้ยงวันละ 2—3 ขวด ทานขนมหวานเดี๋ยววันนี้จะไปเลิกแระนัดกลับมาคลินิกอีกครั้ง น้ำตาลยัง 500 กว่าทุกวันๆทีมแพทย์เริ่มคิดหนักน้ำตาลมาจากไหนเมื่อป้าบอกทางทีมว่ากินแต่หัวปลีต้มทุกวันเลยอย่างอื่นไม่กินกลัวมาก
  • พยาบาลทวนสอบการฉีดยาอินซูลิน การออกกำลังกายแต่ด้วยป้ามีปัญหาเรื่องของ Charchort foot /diabetic foot  จึงลำบากในการเคลื่อนไหวทางกายพยาบาลทำการล้วงปัญหาอีกครั้ง”  ป้าบอกกับทีมว่ากินแต่หัวปลีอย่างอื่นไม่เคยได้กินเลย ทำไมนะน้ำตาลยังสูงเริ่มแรกให้ทำ SMBG  มาส่งทำ bio feed back ถามป้าว่าได้อะไรจากการทำ SMBG บ้าง “ป้าบอกว่ารู้ว่ามันสูงมันต่ำแต่ฉันไม่ได้กินอะไรจริงๆนะ”
  • ทีมสหวิชาชีพเริ่มลงเยี่ยมบ้านภาพที่เรามโนว่าไม่มีที่ออกกำลังกายกลับเป็นที่โล่งโปร่งสบาย อาหารในครัว ฝีมือที่กังปรุงอาหารให้ที่บ้านซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่กลับมาวางแผนอีกครั้งนัดครอบครัวทำกลุ่มจดรายการอาหารพร้อมทำผลคือน้ำตาลลดแต่ป้าอดอาหาร
  • ทีมลองอีกครั้งสอนตั้งแต่อาหาร การนับ CARB ให้ครอบครัวลองกลับไปคิดว่าจะออกกำลังกายด้วยวิธีไหนดี ใช้หลัก 4 บัน บันดาน บรรเลง บันทึก และ บรรลุ
  • ผลที่เกิดขึ้นป้าเฉลียวกลับมาพร้อมด้วยมอส (ลูกชาย) ยื่นคลิปให้พยาบาลดู มอสบอกกับเราว่า “แม่ไม่ต้องอดแล้วนับเอาว่ากินแป้งเท่าไหร่สนุกดีเหมือนลุ้นเลขที่ออก”
  • ผลระยะปานกลาง คือ พฤติกรรมการกินเปลี่ยน ทานได้เหมาะสมตามช่วงเวลาและข้อจำกัด ไม่เกิดภาวะน้ำตาลสูง มานอนโรงพยาบาล  
  • ผลระยะยาว คือ  การควบคุมโรคดี  FPG  Hba1c  ดี  ชีวิตดี มีความสุข รู้เท่าทันโรค ไม่วิตกกังวล สบายใจ อารมณ์ดี แผลที่เท้าหายเร็วขึ้นแทนการถูกตัดเท้า

 ก่อนจะไปดูบทบาทหน้าที่ ที่เราสั่งให้เค้าทำตาม  เราต้องมาทบทวนดูหน้าที่เราก่อนว่า จะให้เค้าจัดการดูแลตนเองได้อย่างไร แล้วเราต้องทำอะไรเราผู้ถ่ายทอดความรู้  ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเช่นกัน ถึงจะถ่ายทอดความรู้ไปให้ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี    ตัวอย่าง การคำนวณพลังงานของป้าเฉลียว (น้ำหนักที่ควรจะเป็น  ก.ก. น้ำหนักเกิน)

 

กิจกรรมเบา

ปานกลาง

หนัก

น้าหนักเกิน

20-25

30

35

น้าหนักปกติ

30

35

40

ผอม

30

40

45 - 50

 

 

 

 

 

 

การคำนวณพลังงานมีหลายสูตรที่เราใช้  คือสูตรของ Shilset et al  คำนวณพลังงานจากน้าหนักตัวและระดับกิจกรรมแต่จะต้องคำนวณค่าดัชนีมวลกายก่อน เพื่อดูว่านํ้าหนักอยู่ในเกณฑ์ใด โดยทั่วไปสูตรนี้ใช้สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี  ตำราว่าไว้อย่างนั้น ก็จะได้ 80X35 = 1,750 kcal แต่ต้องการลดน้ำหนักจึงแนะนำ 1,200 Kcal ให้ carb 11 ส่วน คือ 4 – 4 – 3 /วัน

แบ่งเป็นอาหารดังนี้ตัวอย่างอาหารที่ให้พลังงาน 1,200 แคลอรี ต่อวัน

ป้าเฉลียวและครอบครัวนำไปปรับได้เหมาะสม กับชีวิตของตนเอง และใช้การออกแรงด้วยรอกทุกวันเช้า –เย็นครั้งละ 30นาที  จดรายการอาหารพร้อมผลน้ำตาลเข้ามาเรียนรู้การนับ carb การแลกเปลี่ยนอาหารในแต่ละมื้อ ทางด้านอารมณ์เป็นคนอารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใสประเมิน 5ST= negative

                                                                                      เรื่องเล่าประสบการณ์การจัดการรายกรณีโดย

                                                                                                   นางสาวรังสิมา สุวรรณศรี

                                                                           พยาบาลผู้จัดการรายกรณีเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

 

ผู้เยี่ยมชม

1533285
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
126
606
1351
1518506
11124
20370
1533285

ไอพี: 3.236.86.184
เวลา: 2024-10-15 06:23:48